• มิตซูบิชิ อีเล็คทริค มิสเตอร์สลิม มีเครื่องปรับอากาศหลายแบบหลายขนาดให้เลือก ตอบรับความต้องการใช้งาน
    อย่างลงตัวตามความเหมาะสมกับรูปแบบและขนาดของห้อง ในเบื้องต้นสามารถเลือกขนาดเครื่องปรับอากาศที่
    เหมาะสมโดยดูได้จากขนาดห้องตามที่ระบุไว้ ตัวอย่างเช่น ห้องนอนที่ไม่รับแสงแดด ขนาดกว้าง 5 เมตร
    ยาว 5 เมตร คำนวณได้พื้นที่ขนาด 25 ตารางเมตร ดังนั้นจึงควรเลือกเครื่องปรับอากาศที่มีขนาด 18,000 BTU เป็นต้น

    Image 01

    จากตัวอย่างดังกล่าวเป็นวิธีการเบื้องต้นตามเงื่อนไขทั่วไป อย่างไรก็ตามควรคำนึงถึงปัจจัยอื่นๆ เช่น ความสูงของห้อง ประเภทของห้อง หรือการได้รับแสงแดดมากหรือน้อยเพียงใด ซึ่งล้วนจะมีผลต่อการคำนวณทั้งสิ้น ดังนั้นเพื่อให้ได้
    เครื่องปรับอากาศที่เหมาะสมและใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงควรปรึกษาช่างผู้ชำนาญจากร้านค้าตัวแทนจำหน่ายเครื่องปรับอากาศประกอบการตัดสินใจด้วยทุกครั้ง (ข้อมูลจากโครงการฉลากประหยัดไฟเบอร์ 5, ฝ่ายปฏิบัติการด้านการใช้ไฟฟ้า การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย www.egat.co.th)
  • Image 01

    มิตซูบิชิ อีเล็คทริค คำนึงถึงความต้องการของผู้ใช้เป็นสำคัญ เราจึงพัฒนาเครื่องปรับอากาศหลายแบบหลายรุ่นให้เลือกตามไลฟ์สไตล์ที่แตกต่างกันของผู้ใช้ เช่น รุ่นมูฟอาย ซูเปอร์ อินเวอเตอร์ (Move-eye Super Inverter) ที่สุดแห่งเทคโนโลยีและการประหยัด พลังงาน, รุ่นคิริกามิเนะ เซน (Kirigamine Zen) ที่โดดเด่นด้วยดีไซน์ทันสมัย, และรุ่น
    อีโคโน่ แอร์ (Econo Air) สำหรับผู้ที่มองหาดีไซน์และ
    ความคุ้มค่า

    เครื่องปรับอากาศทุกรุ่นผลิตขึ้นภายใต้การควบคุมคุณภาพของผลิตภัณฑ์อย่างละเอียด เพื่อให้ผู้ใช้ได้รับความสุขอันรื่นรมย์ภายใต้บรรยากาศแห่งความเย็นสบาย และที่สำคัญต้องเป็นเทคโนโลยีที่อยู่ร่วมกับธรรมชาติได้อย่างเป็นมิตร
    ซึ่งกันและกัน

    Image 02

    ในปีนี้ มิตซูบิชิ อีเล็คทริค มิสเตอร์สลิม เป็นผู้ริเริ่มพัฒนาเทคโนโลยีเครื่องปรับอากาศยุคใหม่ที่ดีต่อตัวผู้ใช้ และสิ่งแวดล้อมหรือ ECO-Comfort Technology ด้วยการเปลี่ยนมาใช้สารทำความเย็นใหม่ที่ไม่ ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศโลก พร้อมเทคโนโลยีที่ช่วยให้เครื่องปรับอากาศแต่ละรุ่นใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า ไม่ว่าจะเป็น Econo Cool, Move-eye Censor หรือระบบอินเวอร์เตอร์ ช่วยให้ผู้ใช้ประหยัดพลังงานยิ่งขึ้น นอกเหนือไปจากการได้รับมาตรฐานประหยัดไฟสูงสุดฉลากเบอร์ 5 จาก กฟผ.

  • Image 02

    สารทำความเย็นทำหน้าที่เป็นตัวกลางดูดเอาความร้อนภายในห้อง (Indoor) ออกมานอกห้อง (Outdoor) จากนั้นน้ำยาจะถูกทำให้เย็น
    อีกครั้งแล้วส่งกลับเข้าห้องเพื่อดูดซับความร้อนอีก โดยกระบวนการนี้เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอดเวลาการทำงานของคอมเพรสเซอร์

    สารทำความเย็นแบบใหม่ หรือ HFC (ไฮโดรฟลูออโรคาร์บอน) คือสารที่ไม่มีส่วนผสมของคลอรีน (cl) ซึ่งไม่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ และสารที่มิตซูบิชิ อีเล็คทริค เลือกใช้ในเวลานี้ คือ R410A ซึ่งมีคุณสมบัติเด่น คือ
    • มีประสิทธิภาพการทำความเย็นสูง (COP : Coefficient of Performance)
    • เป็นสารทำความเย็นที่ไม่ติดไฟ ถูกต้องตามข้อกำหนดของ พรบ. ควบคุมอาคาร ฉบับที่ 33 พ.ศ. 2536
    • นิยมใช้อย่างแพร่หลายทั้งในยุโรปและอเมริกา

    Image 01

    เพราะปริมาณการใช้เครื่องปรับอากาศที่เพิ่มมากขึ้นตลอดเวลา จึงมีการปล่อยก๊าซหรือสารที่ทำลายโอโซนในชั้นบรรยากาศ อันเปรียบเสมือนเกราะที่คอยกั้นความร้อนจากแสงของดวงอาทิตย์และรังสีที่เป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิตบนโลก ซึ่งนับวันยิ่งส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมรุนแรงมากขึ้น
    มิตซูบิชิ อีเล็คทริค ได้เล็งเห็นถึงผลกระทบดังกล่าว จึงมุ่งมั่นพัฒนาเทคโนโลยีและริเริ่มการเปลี่ยนแปลงมาใช้สารทำ
    ความเย็นที่ไม่ทำลายโอโซนในเครื่องปรับอากาศ ซึ่งนับว่ามีจำนวนรุ่นที่ใช้สารทำความเย็นที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากรุ่นที่สุดในปัจจุบัน ทั้งในรุ่นทั่วไป (Fix Speed) และรุ่นระบบอินเวอร์เตอร์ (Inverter System)

  • การเติมน้ำยา
    หลายคนมีความเชื่อว่าเมื่อใช้เครื่องปรับอากาศจะเกิดการสูญเสียน้ำยาทำความเย็นและทำให้ปริมาณน้ำยาในระบบ
    ลดลง จึงจำเป็นต้องเติมน้ำยาเข้าระบบเครื่องปรับอากาศเป็นระยะๆ หรือได้รับคำแนะนำจากช่างที่เข้ามาล้าง
    เครื่องปรับอากาศแนะนำให้เติมน้ำยา ซึ่งจะช่วยทำให้ทำความเย็นได้ดียิ่งขึ้น
    ซึ่งทั้งหมดที่กล่าวมา คือ ความเชื่อที่ไม่ถูกต้อง !

    Image 01
    ข้อเท็จจริง
    ระบบการทำความเย็นในเครื่องปรับอากาศถือเป็น
    ระบบปิด ที่ไม่มีการสูญเสียน้ำยาทำความเย็นในระบบตลอดอายุการใช้งาน ดังนั้นจึงไม่ต้องเติมน้ำยาทำความเย็นหากไม่มีความจำเป็น ยกเว้นในกรณีที่เกิดการรั่วขึ้นหรือต้องมีการซ่อมชิ้นส่วนที่เกี่ยวข้อง ถึงจะจำเป็นต้องเติมน้ำยาเข้าไปทดแทนน้ำยาที่รั่วออกไป
    • การบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศน้ำยา R410A กับ R22
    • การดูแลเครื่องปรับอากาศโดยผู้ใช้ มีวิธีการ ขั้นตอน รวมถึงเครื่องมือที่ไม่แตกต่างกัน เช่นการถอดแผ่นฟิลเตอร์ออกมาล้าง หรือการเช็ด Line flow fan
    • การล้างแอร์ มีวิธีการ ขั้นตอน รวมถึงเครื่องมือที่ไม่แตกต่างกัน
    • การเติมน้ำยาแอร์ (กรณีที่เกิดการรั่ว) ควรรู้และใช้น้ำยาทำความเย็นที่ถูกต้องตรงตามประเภทของเครื่องปรับอากาศ
    • อัตราค่าล้างแอร์ ไม่แตกต่างกันระหว่างน้ำยา R410A กับ R22

      การรับประกัน
    • รับประกันแผงคอยส์เย็น 3 ปี คอมเพรสเซอร์ 5 ปี อื่นๆ 1 ปี เหมือนกันทุกรุ่นทุกขนาด

      แนวโน้มในอนาคต
    • น้ำยา R410A มีแนวโน้มราคาต่ำลง และแพร่หลายมากยิ่งขึ้นเรื่อยๆ ในขณะที่น้ำยา R22 มีแนวโน้มน้อยลง เนื่องจากเป็นไปตามข้อกำหนดในการลดการนำเข้าน้ำยา R22 (HFCF) ของกรมโรงงานอุตสาหกรรม และพิธีสารมอลทรีออล